Bloom’s Revised
Taxonomy in 2001
บทความนี้มุ่งนาเสนอแนวคิดการจำแนกพฤติกรรมการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์การจัดการศึกษา
ด้านพุทธิพิสัยฉบับปรับปรุง เริ่มต้นจากปี 1956 บลูมและคณะได้เขียนตำรา
การจัดจำแนกพฤติกรรม การเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์การจัดการศึกษาด้านพุทธิพิสัยขึ้น
ตำราดังกล่าวมีการแปลเป็นภาษาต่าง ๆ ทั่วโลกไม่ต่ำกว่า 22 ภาษา
ต่อมาในปี 2001 ได้มีนักวิชาการกลุ่มหนึ่ง นำโดยแอนเดอร์สัน
ได้พัฒนาแก้ไขตำรา ดังกล่าวให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ผู้เขียนเห็นว่า
ตำราเล่มใหม่ที่จัดทาขึ้นมีข้อความรู้หลายประการที่นักวัดผลประเมินผลและคนเป็นครูควรได้อ่าน
จึงได้เรียบเรียงเผยแพร่เป็นภาษาไทย สาระในตำราที่มี การพัฒนาปรับเปลี่ยนไปคือมีการแบ่งพฤติกรรมการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์การจัดการศึกษาด้านพุทธิพิสัย
ออกเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนที่หนึ่งไดแก่พฤติกรรมการใช้สมองเพื่อการเรียนรู้ซึ่งมีการจัดแบ่งเป็น
6 ลำดับขั้น คือ การจำ ความเข้าใจ การปรับใช้ การวิเคราะห์
การประเมิน และการสร้างสรรค์ ส่วนที่สอง ได้แก่ข้อความรู้ที่ผู้เรียนต้องเรียนรู้
ซึ่งได้มีการจัดแบ่งออกเป็น 4 ลำดับขั้น คือ
ความรู้ที่เป็นขอเท็จจริง ความรู้ที่เป็นมโนทัศน์ ความรู้ที่เป็นกระบวนการขั้นตอน
ความรู้ในส่วนของ การหยั่งรู้ วิธีคิดของตนเอง สาระในบทความ
ได้นำเสนอรายละเอียดเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้สมองเพื่อการเรียนรู้ และลักษณะ ของความรู้ที่ผู้เรียนต้องเรียนรู้
This article presented the knowledge according to Taxonomy of Education Objectives, Cognitive Domain: Revision Edition. It began in the year 1956, Bloom and his teams wrote the original text, Taxonomy of Educational Objectives: Cognitive Domain, which was well known and was translated into at least 22 other languages. Later in 2001 Anderson and his teams revised the text and the new one was written more completely. The writer wanted to distribute the knowledge from the new text to Thai measurement specialists, educational evaluators and teachers, so the main concepts in the article were written in Thai. The Educational Objectives : Cognitive Domain in the new text was divided into 2 parts : Part 1. Thinking behavior for learning was divided into 6 steps which were remembering, understanding, applying, analyzing, evaluating, and creating. Part 2. The knowledge for learning was divided into 4 steps which were factual knowledge, conceptual knowledge, procedural knowledge and metacognitive knowledge. The details of various concepts in both parts of thinking behavior and knowledge for learners were explained in this article.
Bloom’s Taxonomy Revised (2001) เกิดจากการปรับปรุงแนวคิดการแบ่งประเภทการเรียนรู้แบบดั้งเดิมโดยนักการศึกษา
2 ท่านได้แก่ Anderson และ Krathwohl ซึ่งได้ปรับปรุงวัตถุประสงค์ให้พิจารณาเป็น 2 มิติ
คือ พิจารณาลักษณะของความรู้ และพิจารณาการเรียนรู้ทางปัญญา 6 ขั้น
* สิ่งที่แตกต่างระหว่างแนวคิดของ
Bloom(1956) กับแนวคิดของ Anderson และ
Krathwohl (2001)คือ
1.) การเพิ่มมิติด้านลักษณะความรู้เพื่อช่วยให้การกำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น
2.) การปรับรูปแบบคำที่ใช้จากคำนามเป็นคำกิริยา
3.) ขั้นที่ 1 เปลี่ยนจากคำว่า “ความรู้” เป็น “การจำ” , ขั้นที่ 5 เปลี่ยนจาก “สังเคราะห์” เป็น “ประเมิน” และ ขั้นที่ 6 เปลี่ยนจาก “ประเมิน” เป็น “สร้างสรรค์”
โดยสามารถเปรียบเทียบได้ดังภาพต่อไปนี้
1.) การเพิ่มมิติด้านลักษณะความรู้เพื่อช่วยให้การกำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น
2.) การปรับรูปแบบคำที่ใช้จากคำนามเป็นคำกิริยา
3.) ขั้นที่ 1 เปลี่ยนจากคำว่า “ความรู้” เป็น “การจำ” , ขั้นที่ 5 เปลี่ยนจาก “สังเคราะห์” เป็น “ประเมิน” และ ขั้นที่ 6 เปลี่ยนจาก “ประเมิน” เป็น “สร้างสรรค์”
โดยสามารถเปรียบเทียบได้ดังภาพต่อไปนี้
การพิจารณาลักษณะของความรู้ (Knowledge
Dimension)
Anderson และ Krathwohl (2001) ได้แบ่งออกเป็น 4 แบบ ได้แก่
1.) ความรู้เกี่ยวกับความเป็นจริง (Factual knowledge)
หมายถึง ความรู้ในสิ่งที่เป็นจริงอยู่ เช่น ความรู้เกี่ยวกับคำศัพท์ และความรู้ในสิ่งเฉพาะต่างๆ
2.) ความรู้ในเชิงมโนทัศน์ (Conceptual knowledge)
หมายถึง ความรู้ที่มีความซับซ้อน มีการจัดหมวดหมู่เป็นกลุ่มของความรู้ และโครงสร้างของความรู้
3.) ความรู้ในเชิงวิธีการ (Procedural knowledge)
หมายถึง ความรู้ว่าสิ่งนั้นๆทำได้อย่างไร ซึ่งรวมถึงความรู้ที่เป็นทักษะ เทคนิค และวิธีการ
4.) ความรู้เชิงอภิปริชาญ (Metacognitive knowledge)
หมาย ถึง ความรู้เกี่ยวกับเรื่องทางปัญญาของผู้เรียนเอง คือความรู้ที่ผู้เรียนจะทำความเข้าใจเกี่ยวกับการวางแผนและการแก้ปัญหา ไปจนถึงการประเมิน
Anderson และ Krathwohl (2001) ได้แบ่งออกเป็น 4 แบบ ได้แก่
1.) ความรู้เกี่ยวกับความเป็นจริง (Factual knowledge)
หมายถึง ความรู้ในสิ่งที่เป็นจริงอยู่ เช่น ความรู้เกี่ยวกับคำศัพท์ และความรู้ในสิ่งเฉพาะต่างๆ
2.) ความรู้ในเชิงมโนทัศน์ (Conceptual knowledge)
หมายถึง ความรู้ที่มีความซับซ้อน มีการจัดหมวดหมู่เป็นกลุ่มของความรู้ และโครงสร้างของความรู้
3.) ความรู้ในเชิงวิธีการ (Procedural knowledge)
หมายถึง ความรู้ว่าสิ่งนั้นๆทำได้อย่างไร ซึ่งรวมถึงความรู้ที่เป็นทักษะ เทคนิค และวิธีการ
4.) ความรู้เชิงอภิปริชาญ (Metacognitive knowledge)
หมาย ถึง ความรู้เกี่ยวกับเรื่องทางปัญญาของผู้เรียนเอง คือความรู้ที่ผู้เรียนจะทำความเข้าใจเกี่ยวกับการวางแผนและการแก้ปัญหา ไปจนถึงการประเมิน
การจำ (Remembering)เป็นระดับพื้นฐานของการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการนำเอาหรือดึงเอาความรู้
การสืบค้น การเตือนความจำ ได้จากความจำระยะยาวของคนออกมาเพื่อกำหนดการเรียนรู้
ให้พัฒนาต่อไปในระดับที่สูงขึ้น ที่ได้จากความรู้เดิมของคนจำ เรียกความรู้ที่เกี่ยวข้องจากหน่วยความจำระยะยาว
– ตระหนักถึง
การเข้าใจ (Understanding)ระดับถัดมาเป็นกระบวนการสร้างความรู้อย่างมีความหมาย
จากสื่อ จากการอธิบาย การพูด การเขียน การแยกแยะ การเปรียบเทียบ การจัดหมวดหมู่
หรือการอธิบาย ที่จะนำไปสู่ความเข้าใจในสิ่งที่กำลังเรียนรู้
เข้าใจ กำหนดความหมายของสิ่งที่เรียนจากการเขียนหรือจากสื่อ
– การตีความ
– ยกตัวอย่าง
– จำแนก
– สรุป
– เปรียบเทียบ
– อธิบาย
การประยุกต์ใช้ (Applying) กระบวนการในขั้นต่อมา
เป็นการนำความรู้ความเข้าใจไปประยุกต์ใช้ หรือนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์
ด้วยกระบวนการหรือวิธีการดำเนินการอย่างเป็นขั้นเป็นตอน
– การดำเนินการ
–
การใช้ประโยชน์
การวิเคราะห์ (Analyzing)ระดับต่อมาเป็นกระบวนการนำส่วนต่างๆ
ของการเรียนรู้ มาประกอบเป็นโครงสร้างใหม่ ด้วยการการพิจารณาว่ามีส่วนใด
สัมพันธ์กับส่วนอื่นอย่างไร พิจารณาโครงสร้างโดยรวมของสิ่งที่เรียนรู้
แยกแยะวัตถุประสงค์ที่แตกต่างผ่านการกระบวนการอย่างเป็นระบบ
– ความแตกต่าง
– การจัดรูปแบบ
– วัตถุประสงค์
การประเมินผล (Evaluating) ตัดสิน เลือก การตรวจสอบ สิ่งที่ได้จากการเรียน
สู่บริบทของตนเอง ที่สามารถวัดได้
และตัดสินได้ว่าอะไรถูกหรือผิดบนเงื่อนไขและมาตรฐานที่สามารถตรวจสอบได้
บนพื้นฐานของเหตุผลและเกณฑ์ที่แน่ชัด
การสร้างสรรค์ (Creating) ใน ระดับสูงสุดของการเรียนรู้
เพื่อให้ได้องค์ประกอบของสิ่งที่เรียนรู้ร่วมกัน ด้วยการสังเคราะห์ เพื่อเชื่อมโยง
ให้รูปแบบใหม่ของสิ่งที่เรียนรู้หรือโครงสร้างของความรู้ที่ผ่านการวางแผน
และการสร้างหรือการผลิตอย่างเหมาะสม
– สร้าง
– การวางแผน
– การผลิต
แหล่งอ้างอิง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น